TIME : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทเวลา มีค่าได้ตั้งแต่
-838:59:59 ไปจนถึง 838:59:59 โดยจะแสดงผล ออกมาในรูปแบบ HH:MM:SS
YEAR[(2/4)] : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทปี ในรูปแบบ YYYY หรือ YY แล้วแต่ว่าจะเลือก 2 หรือ
4 (หากไม่ระบุ จะถือว่าเป็น 4 หลัก)
โดยหากเลือกเป็น 4 หลัก จะเก็บค่าได้ตั้งแต่ ค.ศ. 1901
ถึง 2155 แต่ หากเป็น 2 หลัก
จะเก็บตั้งแต่ ค.ศ. 1970 ถึง 2069 ข้อสังเกต
ค่าที่เก็บในข้อมูลประเภท TIMESTAMP และ YEAR นั้นจะมีความสามารถพอๆ กับ การเก็บข้อมูลวันเดือนปี และเวลา ด้วยฟิลด์ชนิด
VARCHAR แต่ต่างกันตรงที่ จะใช้เนื้อที่เก็บข้อมูล
น้อยกว่า... ทว่า ฟิลด์ประเภท TIMESTAMP นั้นจะมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาที่สามารถเก็บได้
คือ จะต้องอยู่ในระหว่าง 1 มกราคม ค.ศ. 1000 ไปจนถึงแถวๆ ค.ศ. 2037 อย่างที่บอก แต่หากเก็บเป็น VARCHAR
นั้นจะไม่ติดข้อจำกัดนี้ ฟิลด์ชนิด YEAR ก็เช่นกันครับ...
ใช้เนื้อที่แค่ 1 ไบต์เท่านั้นในการ เก็บข้อมูล
แต่ข้อจำกัดจะอยู่ที่ ปี ค.ศ. 1901 ถึง 2155 เท่านั้น (หรือ ค.ศ. 1970 ถึง 2069 ในกรณี 2 หลัก) แต่หากเก็บเป็น VARCHAR จะได้ตั้งแต่ 0000 ถึง 9999 เลย
อันนี้เลยอยู่ที่ความจำเป็นมากกว่าครับ (แต่ ด้วยความที่ว่า
ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ราคาถูกมากๆ ผมเลยไม่ติดใจอะไรที่จะใช้ VARCHAR แทน เพื่อ ความสบายใจ เพราะสมมติว่ากินเนื้อที่ต่างกัน 3 ไบต์ ต่อ 1 ระเบียน มีข้อมูล 4 ล้านระเบียน ก็เพิ่ง ต่างกัน 12 ล้านไบต์ หรือ 12
เมกะไบต์เท่านั้นเอง ซึ่งหากเทียบกับปริมาณข้อมูลทั้งหมดของข้อมูล 4
ล้านระเบียน ผมว่ามันต้องมีอย่างน้อยเป็นกิกะไบต์
ดังนั้นความแตกต่างที่ไม่กี่เมกะไบต์จึงไม่มากมาย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น