นี่คือ
"ปาอิเช"
หรือ "ปิรารูกุ"
ปลาน้ำจืดที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในภาคพื้นอเมริกาใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์คือ
อาราปาอิมา กิกาส์ (Arapaima gigas) ตัวใหญ่ โตได้กว่า 3
เมตร น้ำหนักสูงสุดเท่าที่เคยมีผู้ชั่งหลังจับได้มากกว่า 180
กิโลกรัมเลยทีเดียว เจ้านี่เป็นปลาพื้นถิ่นประจำลุ่มน้ำอเมซอน
ลำตัวกว้าง สีออกเทามีสีเลื่อมเล็กน้อย ส่วนหัวแบนเรียว ถือว่าเป็นแหล่งอาหารและสินค้าที่สำคัญสำหรับชาวประมงในพื้นที่ลุ่มน้ำเหล่านั้น
ที่ออกล่ามันด้วยเรือแคนูพื้นบ้าน อาศัยฉมวกหรือหอกเป็นอาวุธ
ปิรารูกุกลายเป็นเหยื่อให้กับนักล่าได้ไม่ยาก
เนื่องจากมันมักผุดขึ้นมาฮุบอากาศหนึ่งครั้งในทุกๆ 5-15
นาที และเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำจะทำเสียงดังเป็นเอกลักษณ์
ซึ่งกลายเป็นจุดให้พรานปลาสามารถหาตัวมันได้ง่าย
ส่วนใหญ่แล้วมันมักถูกล่าเพื่อกินเนื้อ (มีคนพื้นเมืองบางพื้นที่นิยมกิน
"ลิ้น" ของมัน) แต่ต่อมา เกล็ดใหญ่ๆ ของมันถูกนำมาใช้เป็นเครื่องประดับและตกแต่งวัสดุอื่นๆ
ส่งผลให้ปลาขนาดยักษ์ที่เคยมีดกดื่นในลุ่มน้ำอเมซอนถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์ไปในบางพื้นที่
บรรดานักวิจัยได้แต่หวังว่ากฎการทำประมงใหม่ๆกับความพยายามในการอนุรักษ์พันธุ์ของมัน
จะช่วยให้เจ้ายักษ์ใหญ่เพิ่มปริมาณมากขึ้นท่องลำน้ำอเมซอนให้เห็นกันมากมายอีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น